“วันเข้าพรรษา” เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับพระสงฆ์เอาไว้ ให้พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดตลอดฤดูฝน

ในอดีตพระสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้ชาวบ้านช่วยกันหล่อเทียนและนิยมถวายเทียนให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้ในช่วงเข้าพรรษา จนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องติดต่อกันมา

ต่อมาก็ได้มีการหล่อเทียนขนาดใหญ่ เรียกว่า เทียนพรรษา หรือมีการจัดขบวนแห่อย่างเอิกเกริกสนุกสนานให้เราได้เห็นกันจนถึงทุกวันนี้

ภาพ : วัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

อย่างไรก็ตามแต่ละภูมิภาคได้มีการผสมผสานวัฒนธรรมของตัวเองลงไปด้วย ทำให้กิจกรรมในวันเข้าพรรษาของแต่ละภูมิภาคอาจต่างกัน อย่างที่จังหวัดสระบุรีมีพิธีตักบาตรดอกพรรษา ขณะที่จังหวัดสุรินทร์มีพิธีตักบาตรบนหลังช้างเป็นต้น

ที่น่านเอง มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันเข้าพรรษาที่โดดเด่นไม่แพ้กุน ถือเป็นประเพณีงานบุญแห่งเดียวในประเทศ ประจำภาคเหนือ คือ “การใส่บาตรเทียน”

การใส่บาตรด้วยเทียนนอกจากจะให้พระและสามเณรได้ใช้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัยและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ แล้ว ปราชญ์เมืองน่านในอดีตยังนัยยะแฝงเข้าไปคือ การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ และการแสดงความอ่อนน้อมของเหล่าพระภิกษุสงฆ์ที่จะคารวะกันโดยยึดถือจำนวนพรรษาหรือปีที่บวชเป็นสำคัญมากกว่าสมณศักดิ์หรือตำแหน่งในคณะสงฆ์ เพราะโดกปกติแล้วฆราวาสจะเป็นผู้ใส่บาตรเพียงฝ่ายเดียว แต่ประเพณีนี้พระสงฆ์ได้ร่วมกิจกรรมด้วย

เปิดประวัติ และความสำคัญของ "วันอาสาฬหบูชา" และคำว่า "อาสาฬหบูชา"

วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันที่เท่าไร ถือเป็นวันหยุดไหม ทำไมบางบริษัทไม่ได้หยุด

ภาพ : วัดบุญยืน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ใส่บาตรเดียวที่พระสงฆ์และฆราวาสทำร่วมกัน

ประเพณีใส่บาตรเทียน เป็นการรวมตัวของเหล่าพระภิกษุสามเณรทั้งหมดในอำเภอเวียงสากว่า 1,000 รูป และพุทธศาสนิกชนจะนำเทียน ดอกไม้ น้ำส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม มาใส่ลงในภาชนะที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ภายในพระอุโบสถ วัดบุญยืน จังหวัดน่านเสร็จแล้วฆราวาสก็จะพร้อมใจนำอาหารมาถวายภัตตาหาร เพล แด่พระภิกษุ-สามเณร หลังพระฉันเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะร่วมกันกินอาหารกลางวัน

จากนั้นในช่วงของพิธีใส่บาตรเทียน พระภิกษุ-สามเณรจะค่อยเดินออกมาจากโบสถ์นำเทียนมาใส่ในบาตร ที่ตั้งอยู่บนผ้าอาบน้ำฝนโต๊ะยาวหน้าโบสถ์ที่มีทั้งหมด 69 จุด (แทนจำนวนวัดและที่พักสงฆ์ในอำเภอเวียงสา)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เมื่อพระและสามเณร ใส่บาตรเสร็จสิ้น ก็ถึงคราวของเหล่าพุทธบริษัทที่จะนำเทียนและดอกไม้ที่เตรียมมาเดินใส่บาตรเทียนกันเป็นแถวยาว โดยชาวบ้านส่วนใหญ่จะนิยมตักบาตรจำนวน 99 เล่มตามความเชื่อในเลขมงคล

หลังเสร็จสิ้นการนำเทียนใส่บาตร พระภิกษุและสามเณรจะเดินกลับเข้าไปในโบสถ์อีกครั้ง เพื่อทำพิธีสูมาคารวะแก่พระแก้ว 5 โกฐากส์ ได้แก่ พระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ร่วมด้วยพระกรรมฐานและพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน รวมถึงการขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้มีอายุพรรษามากกาลตามลำดับ จากนั้นกระบวนการสุดท้ายพระภิกษุและสามเณรจะแบ่งเทียนและดอกไม้นำห่อด้วยผ้าสบงกลับวัดของตนเอง เพื่อนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยหรือเก็บไว้เป็นมงคล ถือเป็นอันเสร็จพิธี

แม้ว่ายุคสมัยเปลี่ยน มีแสงสว่างจากไฟฟ้าเข้ามาแทนที่แสงเทียน แต่วัฒนธรรมนี้ไม่เพียงแต่จะให้พระสง์และสามเณรได้ใช้ประโยชน์แต่ยังแฝงนัยยะสำคัญอีกมากมาย เป็นเหตุผลให้ชาวอำเภอเวียงสาก็ยังร่วมกันสืบสานประเพณีใส่บาตรเทียนให้คงอยู่สืบต่อไป

“ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลกที่จังหวัดสระบุรี

 หนึ่งเดียวในไทย! “ใส่บาตรเทียน” ประเพณีวันเข้าพรรษา เสน่ห์เมืองน่าน

เปิดประวัติ และความสำคัญของ "วันอาสาฬหบูชา" และคำว่า "อาสาฬหบูชา"

By admin