ศึกเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ทัพนักกีฬาไทย คว้ามาได้ 12 เหรียญทอง จากการตั้งเป้าไว้ที่ 15 เหรียญทอง

การแข่งขันในมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ปิดฉากลงไปแล้ว ทัพกีฬาไทยที่ครั้งนี้ตั้งเป้าประเมินไว้ที่ 15 เหรียญทอง ครั้งนี้ได้ไป 12 เหรียญทอง มากกว่าครั้งที่แล้ว ที่จากาตาร์ ประเทศอินโดนิเซีย เมื่อปี 2018 ซึ่งครั้งนั้นทัพกีฬาไทย ทำได้ 11 เหรียญทองโดยครั้งนี้สมาคมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือสมาคมกีฬาตะกร้อ ที่เก็บได้ทั้ง 4 เหรียญทองตามเป้า

ด้านเรือใบ เก็บได้ 3 เหรียญทอง ขณะที่ เทควันโด และ กอล์ฟ เก็บ ได้คนละ 2 เหรียญทองเท่ากัน และ อีสปอร์ต ที่สร้างประวัติศาสตร์เก็บได้ 1 เหรียญทอง

สรุปเหรียญรางวัลของทัพนักกีฬาไทย กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 คว้ามาได้แล้วทั้งหมด 12 เหรียญทอง 14 เหรียญเงิน และ 32 เหรียญทองแดง รวมทั้งหมด 58 เหรียญ จบอันดับ 8 ของตารางเหรียญรางวัลรวม ส่วนเจ้าเหรียญทองเป็นของ เจ้าภาพจีน คว้า 201 เหรียญทอง 111 เหรียญเงิน และ 71 เหรียญทองแดง รวม 383 เหรียญ อันดับ 2 ญี่ปุ่น 52 ทอง 67 เงิน 69 ทองแดง รวม 188 เหรียญ และ อันดับ 3 เกาหลีใต้ 42 ทอง 59 เงิน และ 89 ทองแดง รวม 190 เหรียญ

สำหรับเหรียญทองของทัพนักกีฬาไทย ได้จาก

เหรียญทองที่ 1
25 กันยายน 2566 "เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักกีฬาเทควันโด ในรุ่น 49 กก.หญิง ชนะ กั๊วจิง จากเจ้าภาพจีน 2-1 ยก คว้าแชมป์สมัยที่ 2 ไปครอง พร้อมกับเป็นเหรียญแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2022

12 เหรียญทองศึกเอเชียนเกมส์ 2022  ทัพกีฬาไทยได้จากชนิดกีฬาอะไรบ้าง- คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เหรียญทองที่ 2
26 กันยายน 2566 บัลลังก์ ทับทิมแดง ดาวรุ่งวัย 18 ปี เทควันโด ชายรุ่น 63 กิโลกรัม ดีกรีรองแชมป์โลก ปี 2023 และรองแชมป์เยาวชนโลก ปี 2022 ชนะ อาลิเรซา ฮูสเซนพัวร์ จากอิหร่าน และเหรียญทองนี้ถือเป็นเหรียญทอง ในเทควันโด ประเภทชายครั้งแรกรอบ 13 ปี หลั ครั้งล่าสุดในปี 2010 "แมกซ์" ชัชวาล ขาวละออ" ที่เป็นปัจจุบันเป็นโค้ชทีาติไทยชุดนี้เคยทำได้

เหรียญทองที่ 3
26 กันยายน 2566 ทีมชาติไทย ได้จากเรือใบ โดย ม.ล.เวฆา ภาณุพันธ์ ในประเภท ILCA 4 ชาย มีแต้มเสีย 13 คะแนน ทิ้งห่างนักกีฬาจากสิงคโปร์ ในลำดับที่ 2 ซึ่งมีแต้มเสีย 21 คะแนน ส่วนลำดับที่ 3 เป็น มาเลเซีย

เหรียญทองที่ 4
26 กันยายน 2566 จากการแข่งขันเรือใบ ประเภท ILCA 4 นพภัสสร ขุนบุญจันทร์ วัย 17 ปี ที่แข่งขันครบ 12 เรซ แต้มเสีย 16 คะแนน

เหรียญทองที่ 5
26 กันยายน 2566 จากประเภทวินด์เซิร์ฟ RSX จาก "ดาว" ศิริพร แก้วดวงงาม

เหรียญทองที่ 6
27 กันยายน 2566 ธีเดช ทรงสายสกุล สร้างประวัติศาสตร์ เป็น นักกีฬาอีสปอร์ตทีมชาติไทย คนแรกที่ คว้าเหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2022 ได้ โดยได้จาก เกม EA SPORTS FC ONLINE

เหรียญทองที่ 7
29 กันยายน 2566 เซปักตะกร้อ ประเภททีมชุดหญิง คว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 6 ด้วยการชนะ เกาหลีใต้ 2-0 ทีม ทีมไทยเอ ประกอบด้วย วิภาดา จิตพรวน , สมฤดี ปรือปรัก และ ศิรินันท์ เขียวปัก ทีมบี ประกอบไปด้วย นิภาภรณ์ สลุบพล , วาสนา สร้อยระย้า และ มัสยา ดวงศรี

เหรียญทองที่ 8
29 กันยายน 2566 เซปักตะกร้อประเภททีมชุดชาย ทีมไทย คว้าแชมป์สมัยที่ 7 หลังชนะ มาเลเซีย คู่ปรับตลอดกาล 2-0 คู่ โดยทีมเอ ประกอบด้วย สุธิพงษ์ คำจัน , วิชาญ เต็มโคตร และ พิเชษฐ์ พันแสน ทีมบี ประกอบด้วย ภัทรพงษ์ ยุพดี, ศิริวัฒน์ สาขา และ วรายุทธ์ จันทรเสนา

เหรียญทองที่ 9
1 กันยายน 2566 กอล์ฟ ในประเภทบุคคลหญิง "โปรเปียโน" อาภิชญา ยุบล สกอร์รวม 19 อันเดอร์พาร์

เหรียญทองที่ 10
1 ตุลาคม 2566 กอล์ฟประเภททีมหญิง ประกอบด้วย "แพงกี้" แอลล่า แกลิทสกีย์ และ "โปรปลาย" พัชรจุฑา คงกระพันธ์ ตีรวมกัน 3 คน 4 วัน สกอร์รวม 34 อันเดอร์พาร์ และเป็นครั้งที่ 11 ของไทยในเอเชียนเกมส์ ในกีฬากอล์ฟประเภททีมหญิง หลังเคยคว้าทองมาแล้ว เมื่อปี 2014 ที่อินชอน ประเทศเกาหลีใต้

เหรียญทองที่ 11
7 ตุลาคม 2566 ตะกร้อทีมเดี่ยวชาย ประกอบด้วย สุธิพงษ์ คำจัน เป็นตัวเสิร์ฟ วิชาญ เต็มโคตร ตัวชง และ พิเชษฐ์ พันแสน ตัวทำ สำรอง ศิริวัฒน์ สาขา และวรายุทธ์ จันทรเสนา คว้าแชมป์สมัยที่ 6 ติดต่อกัน หลังจากชนะ มาเลเซีย คู่ปรับตลอดกาล 2-0 เกม พร้อมกับชนะรวดทุกนัดไม่แพ้ทีมใดและไม่เสียเซต

เหรียญทองที่ 12
7ตุลาคม 2566 ตะกร้อทีมเดี่ยวหญิง ประกอบด้วย วิภาดา จิตพรวน ตัวเสิร์ฟ สมฤดี ปรือปรัก หน้าขวาตัวชง และ ศิรินันท์ เขียวปัก หน้าซ้ายตัวทำ สำรอง ปริมประภา เเก้วคำไสย์ และ รัศมี ทองโสด ชนะ เวียดนาม 2-0 เกม คว้าแชมป์สมัยที่ 5 ต่อจากปี 1998, 2002, 2006 และ 2010

สำหรับงบประมาณในการเตรียมและส่งแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 ของทีมชาติไทย อยู่ที่ประมาณ 1,300 ล้านบาท

By admin